
คณะอุตสาหกรรมเกษตรจัดตั้งขึ้นในปี 2537 โดยขยายตัวจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรสังกัดคณะทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนและบุคลากรในภาคใต้ โดยได้ดำเนินการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โทและเอกทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร ดำเนินการวิจัยและให้บริการวิชาการและคำปรึกษาทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมเกษตรแก่โรงงานอุตสาหกรรมเกษตร หน่วยงานราชการในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ คณะอุตสาหกรรมเกษตรดำเนินการเรียนการสอนเกี่ยวกับการนำผลิตผลเกษตร ประมง ป่าไม้ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์และเครื่องอุปโภคโดยกระบวนการทางอุตสาหกรรมเกษตรและกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม ตลอดจนการสอนทางด้านเทคโนโลยีวัสดุและบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องเรียนรู้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การประกันคุณภาพ การจัดการโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อมูลคณะ
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นการเชื่อมโยงการผลิตระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งในปัจจุบันธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร มีการขยายตัวในอัตราสูง บุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน คณะอุตสาหกรรมเกษตร จึงได้ดำเนินการผลิตบัณฑิตทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร ที่มีความรู้ความสามารถในการประมวล และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อวางแผน ควบคุม จัดการและพัฒนาระบบและกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร อีกทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการบุคลากรของทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐหรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการที่จะประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นการสร้างงาน ในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก
สีประจำคณะ
#C73D8A | สีชมพูกลีบบัวหลวง |
ข้อมูลติดต่อ
สำนักงาน | : | คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ตู้ ปณ.38 ปณฝ.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7444 6728 โทรสาร 0 7455 8866 |
อีเมล | : | agro_pr@psu.ac.th |
เว็บไซต์ | : | agro.psu.ac.th |
: | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. | |
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร | ||
สำนักงาน | : | อาคารเรียนและปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร |
ตู้ ปณ. 38 ปณฝ. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 6321, 0 7428 6301 โทรสาร 0 7455 8866 |
ดำเนินการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการเกี่ยวกับเคมีอาหาร จุลินทรีย์ และความปลอดภัยของอาหาร การแปรรูปผลิตผลเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากการแปรรูปอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์และ วิศวกรรมอาหาร ตลอดจนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอาหาร | ||
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม | ||
สำนักงาน | : | อาคารเรียนและปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร |
ตู้ ปณ. 38 ปณฝ. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 6361, 0 7428 6301 โทรสาร 0 7455 8866 |
ดำเนินการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการเกี่ยวกับ การนำเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร โดยครอบคลุม สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร เทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีของเอนไซม์ วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ เทคโนโลยีการผลิตวัสดุชีวภาพ เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือและการบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเลและพันธุวิศวกรรม | ||
ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ | ||
สำนักงาน | : | อาคารเรียนและปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร |
ตู้ ปณ. 38 ปณฝ. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 6345, 0 7428 6301 โทรสาร 0 7455 8866 |
ดำเนินการเรียนการสอน การวิจัยด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมบรรจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การประยุกต์ใช้วิชาการในการศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุชีวภาพ วัสดุสังเคราะห์และวัสดุผสม เพื่อนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมถึงการประยุกต์เทคโนโลยีทางวิศวกรรมมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อกระบวนการผลิตและการบรรจุ บูรณาการและเชื่อมโยงความรู้ในสาขาต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม ทำวิจัยและบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ให้กับภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานราชการ | ||
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการเกษตร | ||
สำนักงาน | : | อาคารเรียนและปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร |
ตู้ ปณ. 38 ปณฝ. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 6380 โทรสาร 0 7455 8866 |
ดำเนินการเรียน การสอน การวิจัยและบริการวิชาการด้านการจัดการเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการคุณภาพ การประกันคุณภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค การวางแผนการผลิตและกระบวนการนำเข้าและส่งออกของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร |