
พ.ศ.2546 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ โดยรวมภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ และสาขาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระดับชุมชน และระดับประเทศ ภารกิจที่สำคัญนอกจากนี้ คือการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในการแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน และให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในภาคใต้
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ โดยสภามหาวิทยาลัยอนุมัติจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2546 ในปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีเปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาโทเปิดสอน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตร
ในแผนยุทธศาสตร์ของคณะ (ปี 2559-2564) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร ดังนี้
คณะเศรษฐศาสตร เป็นองค์กรผลิตบัณฑิต วิจัย และบริการวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่แข็งแกร่งในระดับประเทศและอาเซียน
2. สร้างงานวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่จากบริบทของภาคใต้และอาเซียน
3. ให้บริการวิชาการที่ตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
วัฒนธรรม: มุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อการพัฒนา
ค่านิยม: ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ข้อมูลคณะ
คณะเศรษฐศาสตร์มีการจัดการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้และศึกษาสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงบริบทของเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค ประกอบกับประสบการณ์ของคณาจารย์ในการทำวิจัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถนำเอาความรู้นอกห้องเรียนมาถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว คณะเศรษฐศาสตร์ยังส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาจำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างทักษะในการใช้ชีวิตในทางที่เหมาะสม สร้างสรรค์ประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาเองและสังคม และเนื่องจากคณะเศรษฐศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาจำนวนไม่มากในแต่ละปี คือ เพียง 160 คนในระดับปริญญาตรี และ 40 คนในระดับปริญญาโท ทำให้สามารถดูแลนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่อบอุ่น
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มีหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษาและคุณภาพบัณฑิตเป็นสำคัญ โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อความเหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ สอนโดยใช้ตำราหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เน้นการให้ความรู้ทางทฤษฎี การประยุกต์ใช้ และทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจุบันบัณฑิตจบไปแล้ว 14 รุ่น จำนวน 854 คน
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท แบ่งได้เป็น
-
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ)
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ) ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อและโครงสร้างหลักสูตร ตามแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรตามแนวคิดมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตร Outcome Base Education ประกอบกับการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดงานและผู้ใช้บัณฑิต รวมทั้งให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศ และของโลก จึงมีการเปลี่ยนชื่อและโครงสร้างการเรียนรู้การสอน จากเดิมที่เป็น “หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เกษตร” ที่มีการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลา 30 ปี เป็น “หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564” โดยเริ่มใช้กับนักศึกษาที่เริ่มเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้และแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการ ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและนวัตกรรม ทันสมัย และมีเอกลักษณ์ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของภาคใต้ที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งในสาขาเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และธุรกิจเกษตร ดังนั้นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร จึงตรงกับความต้องการของตลาดงานส่วนใหญ่ของประเทศและภูมิภาค ทั้งในส่วนขององค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชน และการประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ ปัจจุบันบัณฑิตจบไปแล้วในนามสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร จำนวน 27 รุ่น จำนวนบัณฑิต 1,058 คน
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจเกษตร)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจเกษตร) ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อและโครงสร้างหลักสูตร ตามแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรตามแนวคิดมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตร Outcome Base Education หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถในการค้นคว้าวิจัยพัฒนา และมีทักษะการเลือกใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เพื่อจัดการธุรกิจเกษตรทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคได้อย่างเหมาะสม มีความตระหนักและให้ความสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีสำนึกรับผิดชอบต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภคและต่อสังคม อันจะนำไปสู่การประกอบธุรกิจและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป จนถึงปัจจุบันมีมหาบัณฑิตจบไปแล้ว 19 รุ่น จำนวน 585 คน
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ)
หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ระดับบัณฑิตศึกษา
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจเกษตร) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
สีประจำคณะ
#F54F05 | สีส้มดอกประดู่แดง |
ข้อมูลติดต่อ
สำนักงาน | : | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 2400 โทรสาร 0 7428 2410 |
อีเมล | : | economics@psu.ac.th |
เว็บไซต์ | : | www.economics.psu.ac.th |
: | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
ระดับปริญญาตรี | ||
สำนักงาน | : | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 2400 โทรสาร 0 7428 2410 |
ระดับบัณฑิตศึกษา | ||
สำนักงาน | : | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 2484-5 โทรสาร 0 7428 2410 |
อีเมล | : | maboffice.psu@gmail.com |
เว็บไซต์ | : | www.economics.psu.ac.th/MABecon |
: | Mab Psu |