
คณะนิติศาสตร์ เป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นคณะเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 โดยถือว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นสถาบันของรัฐลำดับที่ 6 ของประเทศที่เปิดสอนสาขานิติศาสตร์ ในช่วงเริ่มต้นคณะนิติศาสตร์บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ดร.ปิติ ทฤษฏิคุณ เป็นประธานกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์อาทร คุระวรรณ เป็นรองประธานกรรมการ รับนักศึกษารุ่นแรกปีการศึกษา 2545 นักศึกษารุ่นแรกมี 66 คน โดยใช้อาคารแพทยศาสตร์ศึกษาราชนครินทร์ ชั้น 3 เป็นสำนักงานชั่วคราว
ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์เปิดสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โดยจัดการศึกษาเป็น 4 แผนการศึกษา คือแผนการศึกษาภาคปกติ/ภาคสมทบ แผนการศึกษาสหกิจศึกษา แผนการศึกษาสาขาการศึกษากฎหมายอาเซียน และแผนการศึกษาภาคบัณฑิต โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาเฉพาะทางกฎหมายได้ตามความสนใจ หรือจะเลือกเรียนตามกลุ่มวิชาเฉพาะทางกฎหมายก็ได้ ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ได้มีการจัดกลุ่มวิชาเฉพาะทางกฎหมายเป็น 6 สาขา ดังนี้
- สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
- สาขากฎหมายมหาชน
- สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจ
- สาขากฎหมายระหว่างประเทศ
- สาขากฎหมายอิสลาม
- สาขาการศึกษากฎหมายอาเซียน
ข้อมูลคณะ
คณะนิติศาสตร์ เป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นคณะเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 โดยถือว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นสถาบันของรัฐลำดับที่ 6 ของประเทศที่เปิดสอนสาขานิติศาสตร์
ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โดยจัดการศึกษาเป็น 4 แผนการศึกษา คือแผนการศึกษาภาคปกติ/ภาคสมทบ แผนการศึกษาสหกิจศึกษา แผนการศึกษาสาขาการศึกษากฎหมายอาเซียน และแผนการศึกษาภาคบัณฑิต โดยหลักสูตรมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะการศึกษาเพื่อมุ่งสู่สายวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรมซึ่งมุ่งศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อเป็นนักกฎหมายภาครัฐในหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐทั้งหลาย หรือการศึกษาเพื่อเป็นนักกฎหมายในภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคประชาสังคม และยังได้จัดให้เลือกเรียนในสาขาตามความถนัดและความสนใจเพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งตอบสนองความต้องการนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของสังคมภาคใต้ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม หรือความต้องการในระดับภูมิภาคซึ่งต้องการนักกฎหมายที่มีความรู้กฎหมายของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยให้เลือกเรียนรายวิชาเฉพาะทางกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 6 สาขา ดังนี้
- สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
- สาขากฎหมายมหาชน
- สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจ
- สาขากฎหมายระหว่างประเทศ
- สาขากฎหมายอิสลาม
- สาขาการศึกษากฎหมายอาเซียน
ลักษณะเด่นของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในทฤษฏีและหลักการทางกฎหมายอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายพื้นฐานหรือกฎหมายเฉพาะสาขาซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจของตนเอง ทั้งยังได้เสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ กฎหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนภาคใต้ด้วย เช่น กฎหมายอิสลาม กฎหมายทะเล กฎหมายพาณิชยนาวี กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกฎหมายเกี่ยวกับการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะอินโดนีเซีย สิงค์โปร์ และมาเลเซีย) รวมตลอดถึงกฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
ยิ่งกว่านั้น นิติศาสตรบัณฑิตของคณะฯ ยังต้องมีทักษะวิชาชีพนักกฎหมายในทางปฏิบัติ (Lawyering Skills) ที่สามารถออกไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้อย่างหลากหลายและสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพนักกฎหมาย นอกเหนือจากความรู้ทางกฎหมายและทักษะทางปฏิบัติดังกล่าวแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกฎหมายก็คือทัศนคติต่อความยุติธรรม บัณฑิตนิติศาสตร์ของคณะฯ จะถึงพร้อมซึ่งความเป็นนักกฎหมายที่สมบูรณ์ได้จะต้องมีสำนึกในการเข้าถึงความยุติธรรม ไม่เพิกเฉยต่อความอยุติธรรมที่พบเห็นได้ในสังคม โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแบบให้เปล่าแก่ผู้ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรม (Pro Bono) ซึ่งสอดคล้องกับพระราชปณิธานของพระราชบิดาที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
เพื่อบรรลุผลลัพธ์ดังกล่าวข้างต้น การจัดการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตจึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ (Knowledges) ทักษะ (Skills) และทัศนคติ (Attitude) โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนกฎหมายผ่านประสบการณ์จริงและการลงมือปฏิบัติ (Clinical Legal Education/ Experiential Legal Education) โดยอาศัยกิจกรรมและการเรียนรู้ที่หลากหลาย (Active Learning) ด้วยวิธีการดังกล่าวผู้เรียนจะได้นำความรู้ทางทฤษฏีกฎหมายที่ได้ร่ำเรียนมาไปปรับใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาทฤษฏีกฎหมายอย่างถ่องแท้และมีทักษะในทางวิชาชีพกฎหมายในภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) นอกจากนี้เพื่อให้นักศึกษามีสำนึกในการเข้าถึงความยุติธรรม มองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมและปัญหาการขาดโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรม คณะนิติศาสตร์จึงได้จัดการเรียนรู้โดยการให้บริการสังคม (Service Learning) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โดยกำหนดให้การทำกิจกรรมให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแบบให้เปล่าแก่ผู้ที่ขาดซึ่งโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมผ่านการให้บริการทางกฎหมายแก่ชุมชนของคณะฯ (Pro Bono) เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการสำเร็จการศึกษา อันจะทำให้ผู้เรียนได้สัมผัสปัญหาที่แท้จริงของสังคม ก่อให้เกิดสำนึกในการเข้าถึงความยุติธรรม ไม่ดูดายต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นและพร้อมให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแบบให้เปล่าแก่ผู้ด้อยโอกาส
- กฎหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในภาคใต้
- กฎหมายเกี่ยวกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการค้าในเขตชายแดน
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กฎมายทะเล
- กฎหมายพาณิชยนาวี
- กฎหมายอิสลาม
- การศึกษากฎหมายอาเซียน
- ห้องศาลจำลอง จำลองรูปแบบศาล เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้
- มีห้องอ่านหนังสือ ซึ่งมีหนังสือ ฎีกา คำพิพากษา และวารสารทางกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าของนักศึกษา
- จัดให้มีห้องเรียน และสถานฝึกปฏิบัติงาน ตามเนื้อหาหลักสูตร
- เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์พิเศษ
- จัดให้มีรายวิชาที่มีการสอน โดยการจำลองการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
- จัดให้มีห้องปฏิบัติการทางกฎหมาย โดยจัดโครงการนักศึกษากฎหมายให้บริการ ความรู้กฎหมายแก่ชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสบริการความรู้กฎหมายแก่ชุมชน ได้เรียนรู้สภาพข้อเท็จจริงทางกฎหมาย และการประยุกต์ใช้กฎหมาย รวมทั้งเรียนรู้การแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
เมื่อสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตแล้ว สามารถเข้าศึกษาต่อในสาขากฎหมายชั้นสูงได้หลากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ หรือ สามารถเข้าทำงานในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ ภาคเอกชน อาทิเช่น
- ผู้พิพากษา
- อัยการ
- เจ้าพนักงานตำรวจ
- เจ้าพนักงานคดีปกครอง
- อาจารย์สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเอกชน
- นิติกรในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ
- นายทหารพระธรรมนูญ ในกระทรวงกลาโหม
- ที่ปรึกษากฎหมาย
- นิติกร
- เจ้าพนักงานอื่น ๆ
- สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
- The Asian Law Institute ( ASLI)
- American Bar Association (ABA)
- University of Malaya, Malaysia
- Xiamen University, PR.China
- Chengdu University, PR.China
สีประจำคณะ
#FFFFFF | #000000 | สีขาวขลิบดำ |
ภาควิชา/หน่วยงาน
คณะนิติศาสตร์ | ||
สำนักงาน | : | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ตู้ ปณ.56 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 2500 โทรสาร 0 7428 2503 |
อีเมล | : | law@psu.ac.th |
เว็บไซต์ | : | www.law.psu.ac.th |
: | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |