
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2540 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท และเอก และจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป
ข้อมูลคณะ
พันธกิจ
คณะดำเนินการตามพันธกิจหลัก 4 ประการคือ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
วิสัยทัศน์
คณะศิลปศาสตร์มีความเป็นเลิศด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ มุ่งสู่การเป็นคณะชั้นนำทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน
ค่านิยม
คณะศิลปศาสตร์ มุ่งพัฒนา รักษาคุณธรรม นำสังคม
โครงสร้างคณะศิลปศาสตร์
หลักสูตรปริญญาตรี
1. สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาไทย เพื่อเข้าใจพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และสามารถดํารงตนอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมไทยผ่านระบบความคิด อีกทั้งนําความรู้ทางภาษาไทยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาชีพต่าง ๆ อันจะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสมต่อไป
จุดเด่น
หลักสูตรมีกลุ่มวิชาโทเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาตามความสนใจ และความถนัด 3 กลุ่มวิชา ได้แก่
|
รวมถึงจัดให้เรียนภาษาอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับความรู้ด้านภาษาอื่นและศาสตร์อื่นๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ในงานอาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้
|
2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษได้ในระดับสูง และ ภาษาต่างประเทศอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจในพหุวัฒนธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้พัฒนาตนและสร้างสรรค์งานในสาขาอาชีพ
จุดเด่น
รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ 3 สาขา
|
นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในประเทศหรือต่างประเทศเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่สนองตอบความต้องการของสังคม และตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อาชีพที่สามารถประกอบได้
|
3. สาขาวิชาภาษาจีน
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาและวัฒนธรรมจีน มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มและประยุกต์ใช้ภาษาจีนในสาขาวิชาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่น
นอกจากทักษะภาษาจีนเชิงวิชาการแล้ว หลักสูตรยังได้จัดรายวิชาเลือกที่เพิ่มพูนทักษะทางวิชาชีพ ได้แก่ กลุ่มวิชาการสอน หรือกลุ่มวิชาธุรกิจบริการ ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสในการปฏิบัติสหกิจศึกษา ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ในสถานการณ์จริง เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการได้งานทำ หลังจากสำเร็จการศึกษาต่อไป จัดการเรียนการสอน จำนวน 2 แผน ดังนี้
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้
|
4. สาขาวิชาชุมชนศึกษา
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สังคมและโลก สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข รู้จักแสวงหาและสร้างองค์ความรู้จากชุมชนผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมตามบริบทและเงื่อนไขของชุมชนโดยสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน ตลอดจนเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกสาธารณะ
จุดเด่น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาชุมชนศึกษา ใช้ชุมชนท้องถิ่นภาคใต้เป็นฐานในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย สามารถต่อยอดทุนชุมชนและบูรณาการศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม
อาชีพที่สามารถประกอบได้
|
สวัสดิการและบริการต่าง ๆ แก่นักศึกษา Facilities and Services
|
สีประจำคณะ
#CA0606 | สีแดงส้ม |
ภาควิชา/หน่วยงาน
สำนักงาน | : | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7428 9555 โทรสาร 0 7428 6707 |
เว็บไซต์ | : | www.libarts.psu.ac.th |
: | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
หลักสูตรคณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ ดำเนินการสอนหลักสูตร 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับปริญญาตรี เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 4 สาขาวิชา คือ
1.1 สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ | |
มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านภาษาไทยเพื่อประยุกต์ในการประกอบอาชีพ เน้นกระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน เตรียมความพร้อมสู่ตลาดงานโดยเน้นประสบการณ์การฝึกปฏิบัติการภาษาไทยและปฏิบัติสหกิจศึกษา เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมและดำรงตนอยู่ร่วมในสังคมอย่างเหมาะสม โดยจัดกลุ่มวิชาโทเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาตามความสนใจ และความถนัด 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ 1. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมวลชน 2. การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ และ 3. ภาษาและวัฒนธรรมไทยกับการจัดการ รวมถึงจัดให้เรียนภาษาอื่น จำนวน 15 หน่วยกิต ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์จะสามารถนำความรู้ในรายวิชาบังคับไปประยุกต์ใช้กับวิชาโทต่างๆ ซึ่งเป็นศาสตร์ด้านภาษาไทยได้ อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้กับความรู้ด้านภาษาอื่นและศาสตร์อื่นๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ในงานอาชีพ | |
1.2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ | |
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษควบคู่กับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอื่นอีก 1 ภาษา (ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาเกาหลี) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพจาก 3 สาขา คือ การแปล การท่องเที่ยว และธุรกิจและสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในประเทศหรือต่างประเทศเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่สนองตอบความต้องการของประเทศ สังคม และตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ | |
1.3 สาขาวิชาภาษาจีน | |
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาและวัฒนธรรมจีน มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ภาษาจีนในสาขาวิชาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชาติ อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่มีแผนการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศโดยจะเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากทักษะภาษาจีนเชิงวิชาการแล้ว หลักสูตรยังได้จัดรายวิชาเอกเลือกที่เพิ่มพูนทักษะทางวิชาชีพให้กับนักศึกษา อันได้แก่ กลุ่มวิชาการสอนหรือกลุ่มวิชาธุรกิจบริการ ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสในการฝึกงาน หรือปฏิบัติสหกิจศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในสถานการณ์จริงเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการได้งานทำหลังจากสำเร็จการศึกษาต่อไป | |
1.4 สาขาวิชาชุมชนศึกษา | |
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจ สามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ต่อประเด็นการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของชุมชนและสังคม แสวงหาและประยุกต์ใช้ความรู้จากชุมชนผ่านกระบวนการวิจัย ต่อยอดทุนชุมชนโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ ตลอดจนสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข | |
2. ระดับปริญญาโท เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 3 สาขา คือ
2.1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) | |
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีความสามารถทางการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ | |
2.2 สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) | |
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณธรรม มีความรู้ความเข้าใจมนุษย์และสังคมแบบองค์รวม สามารถแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมทั้งระดับชาติและระดับสากล | |
2.3 สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์(ภาคปกติ) | |
ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ทั้งในแง่รากฐานและวิชาการประยุกต์อันเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น เพื่อพัฒนาตนเอง เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของภาษาท่ามกลางพลวัตและความเป็นพหุลักษณ์ของสังคมไทยและสังคมโลก | |
3. ระดับปริญญาเอก เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต 2 สาขา คือ
3.1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติ / 3 ปีการศึกษา) | |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้นำในการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับวงการศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความสามารถทางการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ | |
3.2 สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม | |
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณธรรม มีความรู้ความเข้าใจมนุษย์และสังคมแบบองค์รวม สามารถแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาตนเองและสังคมทั้งระดับชาติและระดับสากล | |
จุดเด่นของคณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ จัดการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พลศึกษา ภาษา และภาษาศาสตร์ คณะมีพันธกิจที่จะเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างมีความสุข มีทัศนะกว้างไกล เข้าใจปัญหา และเรียนรู้วิธีแก้ไขอย่างสันติ นอกจากนี้คณะศิลปศาสตร์ยังเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้และงานวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่ภูมิภาค และขยายผลไปสู่สากล โดยเน้นการทำงานเป็นทีมและสหศาสตร์ ส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง และบริการวิชาการสู่ชุมชนในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพประชากรในภูมิภาค
สวัสดิการและบริการต่าง ๆ แก่นักศึกษา
|
ทุนการศึกษา
คณะเล็งเห็นความสำคัญของผู้ที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ จึงมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน โดยจัดให้มีทุนการศึกษา เช่น ทุนเรียนดี ทุน English Camp ทุนทำงานแลกเปลี่ยน ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ทุนสนับสนุนนักศึกษาขาดแคลน กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล(กยศ.) ฯลฯ
ตลาดแรงงาน
ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถเข้าทำงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น งานบริการ งานประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารธุรกิจ งานมัคคุเทศก์ งานสำนักงาน งานเลขานุการ งานสอน งานวิชาการทางภาษา งานพิธีกร/ผู้ประกาศ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการ/นักวิจัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่น บริหารจัดการโครงการ ธุรกิจการจัดการชุมชน งานจัดการทางวัฒนธรรม และประกอบอาชีพอิสระเช่น งานแปล ล่าม เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณภาคการศึกษาละ 16,000 บาท
ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก |