มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต |
80 หมู่ 1 ถ.วิชิตสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120 |
www.phuket.psu.ac.th |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดำเนินการจัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยในขณะนั้นใช้ชื่อว่า วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ซึ่งถือเป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย ภารกิจของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตในขณะนั้น จะมุ่งเน้นการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 2 ปี สาขาที่เปิดรับนักศึกษา ได้แก่ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาการเหมืองแร่ สาขาเทคนิคการเกษตร สาขาศิลปประยุกต์ สาขาเทคโนโลยีการยาง และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และในปี พ.ศ. 2539 ได้ปรับเป็นระดับอนุปริญญา 3 ปี ในปี พ.ศ. 2537 เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว และเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรแรก คือ หลักสูตรการจัดการโรงแรม ปี พ.ศ. 2538 เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตภูเก็ต ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต โครงการจัดตั้งสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต และโครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว และเปลี่ยนที่ตั้งของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต จากบริเวณสะพานหิน อำเภอเมือง มาอยู่ในพื้นที่อำเภอกะทู้ และใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
วิทยาเขตภูเก็ต ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 ชื่อว่า “วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ซึ่งเป็น วิทยาลัยชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตร 2 ปี และปรับเป็นระดับอนุปริญญา 3 ปี ในเวลาต่อมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน คณะต่างๆ ภายในวิทยาเขตภูเก็ต ได้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
วิทยาเขตภูเก็ต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เปิดสอน
- ระดับปริญญาตรี (Bachelor's Degree)
- ระดับปริญญาโท (Master's Degree)
- ระดับปริญญาเอก (Doctor Degrees)
มุ่งผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถด้านการบริการ การท่องเที่ยว ด้านธุรกิจต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายสอดคล้องกับจังหวัด ในการมุ่งเน้นด้านความเป็นนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม และการวิจัย
มุ่งเน้นการเรียนการสอน
- ด้านการบริการ การท่องเที่ยว ด้านธุรกิจต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
- ด้านความรอบรู้ทางด้านภาษา พหุวัฒนธรรม สหวิทยาการ และความสัมพันธ์ในระดับนานาชาติ
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
- ด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ด้านการทำวิจัย
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ปัจจุบัน หน่วยงานประกอบด้วย
- คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : Faculty of Technology and Environment
มีภารกิจหลักในด้านการจัดการศึกษา หลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การพัฒนาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและรัฐกิจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
- คณะการบริการและการท่องเที่ยว : Faculty of Hospitality and Tourism
มีภารกิจหลักในด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านธุรกิจการบริการต่าง ๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก การจัดการ การวิเคราะห์ ทรัพยากร ทางการท่องเที่ยว และจริยธรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
- คณะวิเทศศึกษา : Faculty of International Studies
มีภารกิจหลักในด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านธุรกิจต่างประเทศ ด้านสหวิทยาการการเรียนรู้แบบบูรณาการในเรื่องจีน เกาหลี ด้านความรอบรู้ การมีความคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นไทย และการนำเสนอความเป็นไทยสู่สังคมนานาชาติ
- วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ : College of Computing
มีภารกิจหลักในด้านการจัดการศึกษา หลักสูตร...
- วิทยาลัยนานาชาติศิลปวิทยาศาสตร์ ภูเก็ต (โครงการจัดตั้ง) : International College of Arts and Sciences Phuket
มีภารกิจหลักในด้านการจัดการศึกษา หลักสูตร...
- วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต : Community College
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการชุมชน ในรูปแบบของการจัดหลักสูตรระยะสั้น การจัดอบรม การให้คำแนะนำและให้บริการเกี่ยวกับงานบ่มเพาะวิสาหกิจ งานจัดการศึกษาพิเศษ เช่น หลักสูตรปริญญาโทที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การศึกษาตลอดชีพ และกองทุนวิจัยวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
- สำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต : President's Office, Phuket Campus
เป็นหน่วยงานสนับสนุนกลางในการประสานงานทุกด้านภายในวิทยาเขตฯ และให้บริการหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย














