มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี |
31 หมู่ 6 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 |
www.surat.psu.ac.th |
มหาวิทยาลัยได้เริ่มโครงการขยายการศึกษามายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ ปี 2533 โดยเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีศักยภาพด้านต่าง ๆ สูง เหมาะสมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาระดับสูงรองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม กอปรกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง โดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ได้ให้ความสนับสนุนอย่างจริงจัง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีจึงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสรุปลำดับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดังนี้
- มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนคณะทำงานด้านวิชาการ ด้านการจัดหาที่ดิน และคณะกรรมการจัดหาทุน
- สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขยายงานไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2533
- จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อนุมัติให้ใช้อาคารสโมสรจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณศาลาประชาคม เป็นสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2533
- เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรรุ่นแรก โดยใช้หลักสูตรวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มีนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 40 คน และได้เปิดทำการเรียน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2533
- ทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2536 ตามหนังสือ ที่ ทม 0204/25300 ลงวันที่ 19 กันยายน 2533
- รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อการขยายงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2534 ในวงเงิน 1 ล้านบาท และได้สนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีต่อมา ในส่วนของงบดำเนินการ และงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารเรียนรวม
- สภามหาวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระยะแรก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี
- เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2535
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อการจัดตั้งวิทยาเขตตามขอ จำนวน 2 แปลง คือ ป่าเขาท่าเพชร อำเภอเมือง จำนวน 440 ไร่ และป่าทุ่งไสไช อำเภอไชยา จำนวน 4,000 ไร่
- ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537 นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการจัดตั้งที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
- คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็น 1 ใน 11 วิทยาเขตที่ได้รับการอนุมัติจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538
- เปิดหลักสูตรปริญญาโท ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษาและประถมศึกษา ในปี 2538
- คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยาเขตสารสนเทศ ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539
- ปรับหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรทั้ง 3 สาขา เป็นหลักสูตรอนุปริญญาในปีการศึกษา 2539
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542
- หยุดรับนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาทั้ง 3 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2541
- เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2542 สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพรุ่นแรก จำนวน 42 คน
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544
- เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2544 สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมในสาขาย่อย 3 สาขา ได้แก่ การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม และการจัดการอุตสาหกรรมชีวภาพ รุ่นแรก จำนวน 113 คน
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
- เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2545 สาขาวิชาวิทยาการจัดการรุ่นแรก จำนวน 85 คน
- เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการ จัดการ
- สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมยาง โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 77 คน ในปีการศึกษา 2547
- เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ที่ตำบลทุ่งใสไช อำเภอไชยา สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดลในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยง สายพันธุ์กุ้ง
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อนุมัติให้ใช้ชื่อ " เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี " แทนโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และอนุมัติเห็นชอบแผนพัฒนาเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2547-2554
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจเกษตร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2548
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เห็นชอบการแบ่งโครงสร้างสำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี เห็นชอบการมีสำนักงานคณะเทคโนโลยีและการจัดการ และเห็นชอบการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2548
- สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวภาพ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 8 คน ในปีการศึกษา 2549
- คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการรับนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 43 คน ในปีการศึกษา 2550
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษา การสื่อสาร และธุรกิจ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2551
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบการปรับโครงสร้างภายในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และให้ความเห็นชอบการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานภายใน จากเดิม "คณะเทคโนโลยีและการจัดการ" เป็น "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม" และ "คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์" เป็น "คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ" ในปี พ.ศ. 2551
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับทราบการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักสูตร จากเดิม "หลักสูตรวิทยา-ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ" เป็น "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตทางชีวภาพ" และ "หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ" เป็น "หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาธุรกิจ" โดยเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 52 เป็นต้นไป
- การก่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเครื่องมือกลางแล้วเสร็จ ทำให้มีความพร้อมในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2552
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2553
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับทราบการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักสูตร จากเดิม "หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวภาพ" เป็น "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร" โดยเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 54 เป็นต้นไป
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับทราบการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักสูตร จากเดิม “หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวภาพ” เป็น “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร” โดยเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 54 เป็นต้นไป
- มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้นำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหลักสูตรกลางมาเปิดรับนักศึกษา ณ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี ในปีการศึกษา 2554 เป็นครั้งแรก
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2555
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2557
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตร 2 ภาษา) โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2558
- สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบและอนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรประมง หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559 โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2560
จุดเด่นของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของภาคใต้ตอนบน ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการและทำนุบำรุงวัฒนธรรม มุ่งเน้นสร้างความเป็นเลิศในด้านทรัพยากรชีวภาพ เทคโนโลยีและการจัดการ โดยมีการวิจัยเป็นพื้นฐาน นี่คือวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีภารกิจหลักในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา ปัจจุบันวิทยาเขตสุราษฏร์ธานี มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจและโดดเด่นมากมายที่ได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ทั้งวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
ด้วยความพร้อมและศักยภาพด้านต่างๆ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงมีความมุ่งมั่นที่ก้าวไปสู่การเป็นวิทยาเขตนานาชาติระดับขนาดกลาง เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการของภาคใต้ตอนบน เป็นผู้นำและมีความเป็นเลิศในสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ด้านการจัดการเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำหรับทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน สร้างสรรค์บัณฑิตให้เป็นปัญญาชนที่สามารถใช้ภาษาสากลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีขุมพลังจากบุคลากรที่มีความสามารถและเสียสละ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย
- วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี
เป็นสถาบันชั้นนำในการจัดการศึกษาตลอดชีพ เป็นศูนย์บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการชองชุมชนและท้องถิ่นในภูมิภาค โดยมีพันธกิจ ดังนี้
-
- ผลิตและเสริมศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในภาคใต้ตอนบน
- พัฒนาหลักสูตรและระบบการเรียนรู้ของประชาชนและการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็ง
ของชุมชนตามเจตนารมของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ - เป็นหน่วยงานกลางของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในการประสานและสร้างสรรค์งานบริการวิชาการ
งานบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตามความต้องการของหน่วยงานภายในและสังคมภายนอก - เป็นหน่วยงานกลางในการนำหลักสูตรของคณะวิชาหรือสถาบันการศึกษาภายนอกมาเปิดสอนที่มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี - ผลิตผลงานวิจัยที่เสริมสร้างและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
- คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มีพันธกิจในการ ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี โท และ เอก การผลิตงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยเน้นองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่เป็นศาสตร์ของคณะ หรือองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยให้แก่ท้องถิ่นและสังคม ผ่านกระบวนการให้บริการวิชาการรูปแบบต่างๆ
- คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐาน ทางด้านภาษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวิทยาการจัดการให้แก่นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกคณะในวิทยาเขตสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังรับผิดชอบจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพัฒนาธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารรัฐกิจและวิสาหกิจ และภาษา การสื่อสารและธุรกิจ ซึ่งทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ระดับสร้างศักยภาพที่แข่งขันได้ สร้างงานได้ โดยเน้นให้นักศึกษาทุกสาขาได้ความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ตลอดจนวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างสมรรถนะสากลพร้อมกับความเป็นไทยทั้งกายและใจให้แก่นักศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจ
- สำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
เป็นหน่วยงานทีมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการให้บริการสนับสนุน และร่วมประสานภารกิจในการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร ประกอบด้วย- กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ งานบริการการศึกษา งานทะเบียนและประเมินผล และงานกิจการนักศึกษา
- กลุ่มงานบริหารทั่วไป ได้แก่ งานบริหารและพัฒนาระบบ งานบริหารงบประมาณ และงานอาคารสถานที่
- ศูนย์สนเทศและการเรียนรู้ ได้แก่ งานห้องสมุด งานบริการคอมพิวเตอร์และปฏิบัติการทางภาษา และงานเทคโนโลยีทางการศึกษา
- ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเครื่องมือกลาง เป็นหน่วยงานกลางที่สนับสนุนการเรียนการสอนด้านการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้แก่คณะต่างๆ สนับสนุนการวิจัยของบุคลากร และการบริการวิชาการทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก














