
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตั้งขึ้นตามประกาศของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 โดยการโอนย้ายศาสตร์ สาขาวิชา และคณาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากคณะเทคโนโลยีและการจัดการ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มารวมกันภายใต้คณะใหม่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ และการใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นคณะชั้นนำของประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี โดยเน้นองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์ของคณะ หรือองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยให้แก่ท้องถิ่นและสังคม ผ่านกระบวนการให้บริการวิชาการรูปแบบต่าง ๆ
- ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่มีสมรรถนะสากล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความสุข
- ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
- บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
- ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ข้อมูลคณะ
- หลักสูตรของคณะ เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานภาคธุรกิจ ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักของภูมิภาค เช่น อุตสาหกรรมยาง ปาล์ม อุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเกษตรอื่น และมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
- หลักสูตรทุกหลักสูตร จะเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ทั้งทางทฤษฎี และทักษะการปฎิบัติงานจริง โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เช่น งานสหกิจศึกษา การฝึกงานในสถานประกอบการ การทำโครงงานนักศึกษา นักศึกษาบางส่วนจะได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษา ดูงาน หรือการฝึกงานในต่างประเทศ
- นักศึกษาทุกหลักสูตร จะได้รับการพัฒนาทักษะทางการบริหารจัดการ การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะสากล
- คณาจารย์มีคุณวุฒิที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านต่างๆ อันจะเป็นจุดเด่นในการดำเนินงานตามพันธกิจ ทั้งการสร้างการปรับปรุงรายวิชา หรือหลักสูตรใหม่ และการทำวิจัย ซึ่งในปัจจุบันมักจะต้องใช้องค์ความรู้หลากหลายด้านบูรณาการเข้าด้วยกัน
- สัดส่วนของอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญาเอกที่สูงถึง 50% ของอาจารย์ทั้งหมด จึงทำให้มีทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อมต่อการทำงานตามภารกิจโดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และการสร้างงานวิจัย
- หลักสูตร สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
- การเรียนการสอน เน้นทั้งทางทฤษฎี และการทักษะในการปฎิบัติผ่าน กระบวนการ ฝึกงาน สหกิจศึกษา และโครงงานนักศึกษา
- สร้างให้บัณฑิตที่มีสมรรถนะสากลและมีความพร้อมในการเป็นประชากรโลก
- คณาจารย์มีคุณวุฒิหลากหลาย และมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสัดส่วนที่สูง
ปัจจุบัน มีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ในปีการศึกษา 2562 ดังนี้
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยางพารา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาทรัพยากรประมง หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556
- สาขาวิชาเทคโนโลยียาง หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
- สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
- สาขาวิชาเคมีประยุกต์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคำนวณ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560
- สาขาวิชาเทคโนโลยียาง หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
- สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
สีประจำคณะ
#800639 | สีม่วงแดง |
ภาควิชา/หน่วยงาน
สำนักงาน | : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี |
31 หมู่ 6 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 | ||
ติดต่อ | : | โทรศัพท์ 0 7727 8880 โทรสาร 0 7735 5453 |
อีเมล | : | - |
เว็บไซต์ | : | scit.surat.psu.ac.th |
: | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม | |