มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง |
102 หมู่ 6 ต.ควนปริง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง 92000 |
www.trang.psu.ac.th |
โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มีจุดเริ่มต้นจาก ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง ขอให้ขยายวิทยาเขตไปที่จังหวัดตรัง เนื่องจากจังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก และ ตัวจังหวัดยังเป็นศูนย์กลางของจังหวัดทางภาคใต้ตอนกลางประกอบกับจังหวัดตรังไม่มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือ เรื่องการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่จังหวัดตรังระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจังหวัดตรัง ที่ประชุมมีความเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเปิดหลักสูตร บางหลักสูตรที่จังหวัดตรัง ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการขยายการศึกษาไปที่จังหวัดตรังในหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งต่อมาโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มีสถานภาพเป็น โครงการจัดตั้งวิทยาเขต โดยความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 ในระยะเวลาต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอปรับปรุงโครงสร้างการขยายวิทยาเขต โดยเน้นปรับปรุงรูปแบบการขยายงานจาก "วิทยาเขต" เป็น "วิทยาเขตสารสนเทศ" โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตตรัง มีจุดเน้นของการพัฒนาวิชาการ โดยเน้นทางด้านสังคมศาสตร์ประยุกต์ ธุรกิจ และอุตสาหกรรมการบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบในเชิงธุรกิจ
โครงสร้างสำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตตรัง
สำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตตรัง แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย
- ฝ่ายบริหาร
- นโยบายและแผน
- งานประกันคุณภาพ
- งานบริหารงานบุคคล
- งานประชาสัมพันธ์
- งานเลขานุการและงานประชุม
- งานสารบรรณและธุรการ
- งานพัสดุ
- งานบัญชีและการเงิน
- ฝ่ายวิจัย วิชาการและพัฒนานักศึกษา
- งานทะเบียนและประมวลผลนักศึกษา
- งานรับนักศึกษา
- งานบริการการศึกษา
- งานส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
- งานวิเทศสัมพันธ์
- งานกิจกรรม วัฒนธรรม และวินัยนักศึกษา
- งานทุนการศึกษาและแนะแนวนักศึกษา
- งานสวัสดิการนักศึกษา
- งานห้องสมุด
- ฝ่ายการจัดการทรัพย์สิน
- งานบริหารทรัพย์สิน
- งานบำรุงรักษา
- งานพัฒนาอาคารและสถานที่
- งานยานยนต์
- งานบริหารและบริการ
- งานหอพักนักศึกษา














